Tuesday, February 24, 2009

มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลง

6:57 AM

วันนี้คงต้องขออนุญาตินำกฎหมายมาให้ดูโดยจะเน้นไปที่มาตรา 38 ซึ่งผู้ประกันตนสิ้นสภาพการจ้างแล้วและยังอยู่ในช่วงประกันตนคือไม่เกิน 6 เดือน หรือมีการส่งเบี้ยประกันสังคมพร้อมเงิืนสมทบด้วยตนเอง ประเด็นหลักก็คงอยู่ที่เงิน 2,000 บาทเหมือนเดิมนั่นแหละครับว่าได้ชัวร์หรือไม่ ซึ่งเมื่อวานผมก็ได้ไปยื่นที่ประกันสังคมเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องรออีกระยะหนึ่งเพื่อให้ทางการตรวจสอบความถูกต้อง

ว่าแล้วก็เล่าให้ฟังกันซักนิดถึงขั้นตอนการยื่น(ผมยื่นที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี)
  • อันดับแรกต้องตรวจสอบตนเองให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่ คือ ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่แต่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท หรือสิ้นสภาพการจ้าง/ลาออกจากงาน และยังอยู่ในช่วงประกันตนในกรณีใดกรณีหนึ่ง
  • ขอเอกสารที่ต้องกรอก จะเป็นกระดาษ A4 เหมือนกันหมดในทุกกรณี แต่ถ้าเป็นกรณีลาออกจากงาน เขาให้เขียนที่มุมหัวกระดาษว่า ม.38 หรือ มาตรา 38 พร้อมกับสถานที่ทำงานที่ตนเองเคยทำอยู่ล่าสุดลงไปด้วย ตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งในกระดาษนั้น
  • เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมรายเซ็นต์(รายเซ็นต์จะต้องเหมือนกันกับที่เซ็นต์ในเอกสารการขอเงินช่วยเหลือน๊ะครับ) และไม่ต้องใช้สำเนาสมุดธนาคารแต่อย่างใด แต่ติดตัวไปด้วยก็ดี เผื่อบางที่จะไม่เหมือนกัน
  • หลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็เดินไปที่ชั้น 3 ห้องทางซ้ายมือเพื่อยื่นเอกสาร ยื่นตามหมายเลขเรียกที่เขาจะแจกที่หน้าห้อง
  • เมื่อยื่นเอกสารแล้ว ก็รอเรียกชื่อเพื่อรับเอกสารกลับ หรือหางเอกสารนั่นเอง เท่านี้ก็กลับบ้านได้แล้วครับ
การไปยื่อนควรจะเผื่อเวลาไว้บ้างน๊ะครับ เพราะคนไปยื่นค่อนข้างเยอะ สำหรับผมใช้เวลาประมาณ 30 - 40 นาทีถึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการ ถ้าไม่เข้าใจการกรอกเอกสารส่วนไหนก็ถามเจ้าหน้าที่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ที่นี่ค่อนข้างจะดูแลประชาชนดีน๊ะครับตามความคิดของผม

แนบท้ายอีกนิดสำหรับกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

ลักษณะ 2
การประกันสังคม
________

หมวด 1
การเป็นผู้ประกันตน
________

มาตรา 33* ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และ ยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือ ว่าลูกจ้างนั้นเป็น
ผู้ประกันตนต่อไป
*[มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
มาตรา 34 ให้ นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยื่นแบบรายการแสดงราย ชื่อผู้ประกันตน อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ต่อ
สำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน
มาตรา 35 ใน กรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างโดยวิธีเหมาค่าแรงมอบให้แก่บุคคลหนึ่ง บุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง อีก
ทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำ งานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วน ใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจซึ่งกระทำ
ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานของผู้ประกอบกิจการและเครื่องมือที่ สำคัญสำหรับใช้ทำงานนั้นผู้ประกอบกิจการเป็นผู้จัดหา กรณีเช่นว่านี้ผู้ ประกอบกิจการย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างซึ่งมี
หน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
* ในกรณีที่ผู้รับเหมาค่าแรงตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ยื่นแบบรายการต่อสำนักงาน ตาม มาตรา 34 ในฐานะนายจ้าง ให้ผู้รับเหมาค่าแรงมีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราช บัญญัตินี้เช่นเดียวกับ
นายจ้าง ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ประกอบกิจการหลุด พ้นจากความรับผิดในหนี้เงินสมทบและเงินเพิ่มเพียงเท่าที่ผู้รับเหมาค่าแรง ได้นำส่งสำนักงาน
*[ความในวรรคสองของมาตรา 35 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2537]
มาตรา 36 เมื่อ นายจ้างยื่นแบบรายการตามมาตรา 34 แล้ว ให้สำนักงานออกหนังสือสำคัญแสดงการ ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้แก่นายจ้าง และออกบัตรประกันสังคมให้แก่
ลูกจ้าง ทั้งนี้ ตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 37 ใน กรณีที่ความปรากฏแก่สำนักงานหรือจากคำร้องของลูกจ้างว่านายจ้างไม่ยื่นแบบ รายการตามมาตรา 34 หรือยื่นแบบรายการแล้ว แต่ไม่มีชื่อลูกจ้างบางคนซึ่งเป็น
ผู้ ประกันตนตามมาตรา 33 ในแบบรายการนั้น ให้สำนักงานมีอำนาจบันทึกรายละเอียดใน แบบรายการตามมาตรา 34 โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แล้วออกหนังสือ สำคัญแสดงการขึ้น
ทะเบียนประกันสังคมให้แก่นายจ้าง และหรือออกบัตรประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 36แล้วแต่กรณี
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย จะดำเนินการสอบสวนก่อนก็ได้
มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น (1) ตาย (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง * ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้น มีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระ ราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง *[ความในวรรคสองของมาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2542]
มาตรา 39* ผู้ ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสอง เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง ตามมาตรา 38(2) ถ้าผู้นั้น
ประสงค์ จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
จำนวน เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องส่งเข้า กองทุนตามมาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่ กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงิน สมทบที่ยังมิได้
นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงิน สมทบ สำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่ง เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
*[มาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
มาตรา 40 บุคคล อื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราช บัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน
หลัก เกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตาม มาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตรา เป็นพระราช
กฤษฎีกา
มาตรา 41* ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
(1) ตาย
(2) ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีก
(3) ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนโดยการแสดงความจำนงต่อสำนักงาน
(4) ไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกัน
(5) ภายในระยะเวลาสิบสองเดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบเก้าเดือน
การ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตาม (4) สิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงิน สมทบ และการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตาม (5) สิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงิน สมทบไม่ครบ
เก้าเดือน
*ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพความเป็นลูกจ้าง ตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติใน ลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน
หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
*[ความในวรรคสามของมาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]
มาตรา 42 เพื่อ ก่อสิทธิแก่ผู้ประกันตนในการขอรับประโยชน์ทดแทนตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ให้นับ ระยะเวลาประกันตนตามมาตรา 33 และหรือมาตรา 39 ทุกช่วงเข้า
ด้วยกัน
มาตรา 43 กิจการ ใดที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แม้ว่าภายหลังกิจการนั้นจะมีจำนวน ลูกจ้างลดลงเหลือน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ก็ตาม ให้กิจการดังกล่าวอยู่
ภาย ใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะเลิกกิจการ และให้ลูกจ้างที่เหลือ อยู่เป็นผู้ประกันตนต่อไป ในกรณีที่กิจการนั้นได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำ งาน ให้ลูกจ้างใหม่นั้นเป็นผู้ประกันตนตาม
พระราชบัญญัตินี้ด้วย แม้ว่าจำนวนลูกจ้างรวมทั้งสิ้นจะไม่ถึงจำนวนที่กำหนดไว้ก็ตาม
มาตรา 44* ใน กรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความในแบบรายการที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงาน เปลี่ยนแปลงไป ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนด
เพื่อขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ให้นำความในมาตรา 37 มาใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้โดยอนุโลม
*[มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]
มาตรา 45 ในกรณีที่หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน ประกันสังคมหรือบัตรประกันสังคมสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ นายจ้างหรือผู้ประกันตนยื่นคำขอรับ
ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน ประกันสังคม หรือใบแทนบัตรประกันสังคมแล้วแต่กรณีต่อสำนักงานภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว ทั้งนี้
ตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด

Written by

We are Creative Blogger Theme Wavers which provides user friendly, effective and easy to use themes. Each support has free and providing HD support screen casting.

2 ความคิดเห็น:

Anonymous said...

ขอบคุณครับสำหรับบทความ

ภานุพงศ์ said...

ผมเป็นผู้ประกันตนมาตรา38และรายงานตัวครังแรกเงินไม่เข้าจึงโทรถาม และให้ผมคืนเงินที่ส่งเกิน1,036บาท และผมได้ส่งคืนแล้วครบตามจำนวนและให้รอ7วันจะโอนเงินเข้าให้ในงวดแรก. แต่ทำไม่เงินเข้าบัญชีผมแค่69บาท ครับรบกวนช่วยบอกหนอ่ยครับว่าเพราะอะไรครับ. เลขบัตร3400500723509 เดือดร้อนมากครับรอเงินช่วยเหลือไม่มีเงินชื่อข้าวกินแล้วครับ. ขอบคุณครับ

 

© 2013 คนตกงาน. All rights resevered. Designed by Templateism

Back To Top