Friday, January 30, 2009

การใช้น้ำอย่างประหยัดและถูกวิธี

ไหน ๆ ก็ไม่มีงานทำ รายได้ก็ไม่มี การประหยัดเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก ก็ลองมาดูวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัดและถูกวิธีกันน๊ะครับ

ประหยัด, น้ำ, ทรัพยากร, พฤติกรรม, การอาบน้ำ, แปรงฟัน

วันนี้มีวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัดและถูกวิธีมาฝาก...

- การอาบน้ำ
การ ใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด รูฝักบัว ยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำ ปิดฝักบัวในขณะที่ถูสบู่ จะใช้น้ำเพียง 30 ลิตร หากไม่ปิดจะใช้น้ำถึง 90 ลิตร และหากใช้อ่างอาบน้ำจะใช้น้ำถึง 110-200 ลิตร

- การโกนหนวด
โกนหนวดแล้วใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้น้ำ จากแก้วมาล้างอีกครั้ง ล้างมีดโกนหนวดโดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก

- การแปรงฟัน
การ ใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้น้ำเพียง 0.5-1 ลิตร การปล่อยให้น้ำไหล จากก๊อกตลอดการแปรงฟัน จะใช้น้ำถึง 20-30 ลิตรต่อครั้ง

- การใช้ชักโครก
การ ใช้ชักโครกจะใช้น้ำถึง 8-12 ลิตร ต่อครั้ง เพื่อการประหยัด ควรใช้ถุงบรรจุน้ำมาใส่ในโถน้ำ เพื่อลดการใช้น้ำ โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า หากใช้ชักโครก ควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วมแยกจากกัน

- การซักผ้า
ขณะ ทำการซักผ้าไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา จะเสียน้ำถึง 9 ลิตร/นาที ควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือและเครื่องซักผ้า

- การล้างถ้วยชามภาชนะ
ใช้ กระดาษเช็ดคราบสกปรกออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างน้ำ จะประหยัดเวลาประหยัดน้ำ และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง ซึ่งจะสิ้นเปลืองน้ำ 9 ลิตร/นาที

- การล้างผักผลไม้
ใช้ ภาชนะรองน้ำเท่าที่จำเป็น ล้างผัก ผลไม้ ได้สะอาดและประหยัดกว่าเปิดล้างจากก๊อกโดยตรง ถ้าเป็น ภาชนะที่ยกย้ายได้ ยังนำน้ำไปรดต้นไม้ได้ด้วย

- การเช็ดพื้น
ควรใช้ภาชนะรองน้ำและซักล้างอุปกรณ์ใน ภาชนะก่อนที่จะนำไปเช็ดถู จะใช้น้ำน้อยกว่า การใช้สายยางฉีดล้างทำ ความสะอาดพื้นโดยตรง

- การรดน้ำต้นไม้
ควร ใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการใช้ สายยางต่อจากก๊อกน้ำโดยตรง หากเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ก็ควรใช้ สปริงเกลอร์ หรือใช้น้ำที่เหลือจากกิจกรรมอื่นมารดต้นไม้ ก็จะช่วย ประหยัดน้ำลงได้

- การล้างรถ
ควร รองน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถังน้ำ แล้วใช้ผ้าหรือเครื่องมือล้างรถจุ่มน้ำลงในถัง เพื่อเช็ดทำความสะอาดแทนการ ใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง ซึ่งจะเสียน้ำเป็นปริมาณมากถึง 150-200 ลิตร/ครั้ง

รู้อย่างนี้แล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรแถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย.

ที่มา : sanook.com

Thursday, January 29, 2009

เริ่มต้นหางานจากเว็บไซด์ดีกว่า

ชีวิตไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นกันต่อไป และแน่นอนว่าไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ชีวิตนี้ก็ยังมีความหวัง สำหรับความหวังของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องตกงาน ก็คงจะทำอะไรได้ไม่มาก ก็ต้องพยายามหางานทำกันต่อไป จะไปทำธุรกิจอะไรก็ยังมองไม่เห็นหนทางในตอนนี้ เพราะฉะนั้น ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก ก็ให้พยายามหางานไปเรื่อย ๆ เลยน๊ะครับ อย่าหยุด อย่าท้อ

การหางาน ก็สามารถทำได้หลายวิธี อาจจะเป็นสิ่งตีพิมพ์ อินเตอร์เน็ท หรือแม้กระทั่ง ไปยังสถานประกอบการ แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ ผมว่า ดูเฉพาะบนเว็บไซด์น่าจะดีกว่า เพราะประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

เว็บไซด์สำหรับหางานที่ผมรวบรวมมาได้มีดังนี้(โปรดแจ้งถ้าหากมีปัญหาน๊ะครับ) ดูเว็บไซด์หางาน คลิ๊ก อ่านต่อ...
108jobs
1234job
AppJob
BuddyJob
CareeNext
ClickITJob
DeeJobs
DuJob
EasyThaiJob
Ejobeasy
EmThai
EzyJob
FriendJob
InterCareer
ISeeJob
Loxinfo
JobAA
JobAnt
JobBees
JobBkk
JobByYou
JobDo
JobDue
JobEM
JobInSure
JobJung
JobTOL
JobMlm
JobNorthCM
JobPilot#1
JobPilot#2
JobPub
JobSdb
JobSiam
JobsNinetyone
JobSpicy
JobThai
JobThaiCN
JobThaiDB
JobThaiTeam
JobToday
JobTopgun
JobSociety
JobZaa
MamaJob
Matichon
MeeJobs
Myjob.co.th
My2Hands
NationEjobs
One2Jobs
SetupJob
SiamHRM
SchoolJob
ThaiBigJob
ThaiBestJobs
ThaiCareer
ThaiFirstJobs
ThaiEJob
ThaiJobcenter
ThaiJobmarket
ThaiHotjob
ThaiHRM
ThaiLabor
ThaiParttime
ThaiTechno
ThJob
ThaiLtd
Thai2000

เดินหน้าต่อไป อย่าท้อ

คำว่า “ตกงาน” ไม่ใช่คำที่น่าฟังเลยใช่ไหม แต่หากชีวิตของคุณต้องประสบพบเจอกับมัน คุณจะรับมือกับมันได้อย่างไร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเทอมลูกจะเอาที่ไหน ???? มาหาวิธีรับมือกับโชคชะตาอย่างเข้มแข็งกันดีกว่า

ล้มแล้วต้องลุก ชีวิตยังมีหวัง อย่าปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความทุกข์นานนัก ลุกขึ้นมาเผชิญหน้ากับความจริง สำรวจตัวเองว่า เรามีข้อบกพร่องตรงไหนบ้างที่ทำให้ตกงาน แล้วกำจัดจุดอ่อนนั้นซะ ถ้าจะให้ดีลองสอบถามจากคนรอบข้าง เผื่อจะได้รับคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับข้อบกพร่องที่ตัวเราเองมองไม่เห็นก็ได้

จัดทำตารางเวลาให้กับการหางานของคุณ เมื่อพร้อมที่จะหางานใหม่แล้ว จงหางานทำให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินขาดมือ โดยคุณต้องจัดเวลาให้ตัวคุณเอง อาจใช้เวลาช่วงเช้าของแต่ละวันเพื่อหางาน หรืออ่านบทความที่เป็นประโยชน์ในการหางาน และการทำงาน เช่น แนวทางการเขียนเรซูเม่ เทคนิคการสัมภาษณ์งาน รวมถึงแนวทางในการพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน

อย่าเก็บตัว ทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณกำลังหางานอยู่ ก่อนออกจากงานคุณอาจส่งอีเมลสั้นๆ ถึงผู้คนทิ่เคยติดต่องานกับคุณ ว่าคุณกำลังจะออกจากงาน และจะทำงานที่นี่ถึงวันไหน หลังจากนั้นแล้วทุกคนจะสามารถติดต่อคุณได้อย่างไร วิธีนี้จะทำให้พวกเขารู้ว่าคุณกำลังต้องการงาน และคุณอาจได้รับการแนะนำเกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างในบริษัทที่พวกเขาทำงานอยู่ ก็ได้แม้กระทั่งญาติพี่น้องของคุณเองอย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากพวกเขา แน่นอนที่สุดว่าเขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือคุณเสมอ

สำรวจการใช้จ่าย คุณอาจไม่เคยรู้เลยว่าในแต่ละเดือนคุณใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากเพียงใด ค่าใช้จ่ายในการกินดื่ม เที่ยว ไปจนถึงชอปปิ้ง เสื้อผ้า รองเท้า และอื่นๆ อีกมากมาย เริ่มต้นจดบันทึกการใช้จ่ายของคุณ
ทุกบาททุกสตางค์ จากนั้นเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่คุณต้องใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำค่าไฟ เรื่อยลงไปจนถึงสิ่งที่ฟุ่มเฟือย แล้วคุณจะทราบว่าคุณจะสามารถตัดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

อย่าแตะต้องเงินในอนาคตถ้าไม่จำเป็น หากคุณเก็บออมเงินไว้สำหรับยามแก่เฒ่า ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ คุณไม่ควรถอนเงินจำนวนนั้นออกมาเพื่อไปใช้ชำระหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเฉพาะหน้าต่างๆเพราะมันไม่คุ้มกันเลยที่จะเอาเงินอนาคตไปใช้ และยังทำให้คุณเสียสิทธิการคุ้มครองและรักษาพยาบาลยามฉุกเฉินด้วย

เก็บเงินสดไว้ คุณต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายให้มากๆ หากคุณมีหนี้สินที่ต้องชำระที่นอกเหนือจากความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น เงินกู้ หรือ การจำนำ จำนอง อย่าเพิ่งจ่ายตอนนี้ ลองเจรจาต่อรอง ผัดผ่อน
เพื่อยืดเวลาการชำระหนึ้ให้นานที่สุด หรือพยายามจ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จำไว้ว่าเงินสดจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณในตอนนี้

หาทางเพิ่มรายได้ หากคุณอยู่เฉยๆ คุณก็จะมีแต่รายจ่าย แล้วทีนี้จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายล่ะ คุณจำเป็นต้องหาเงินสดเพิ่มเติมโดยอาจสำรวจตู้เสื้อผ้า และสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ การเปิดท้ายขายของมือสองเป็น
ตลาดหนึ่งที่ทำรายได้ได้ดีในเวลานี้ เพราะผู้คนนิยมใช้ของมือสองเพิ่มขึ้นมาก แค่คุณเลือกทำเลให้ดีๆ ก็แล้วกัน

สมัครงานอาสาสมัครดูสิ ในระหว่างที่คุณยังหางานใหม่ไม่ได้ ลองทำงานอาสาสมัครดูบ้างดีไหม แม้มันอาจจะไม่สร้างรายได้ให้กับคุณ แต่อย่างน้อยคุณจะได้เห็นชีวิตของคนที่ลำบากกว่าคุณ ซึ่งจะเป็น
แรงผลักดันให้คุณมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป

แม้โชคชะตาจะเล่นตลกกับเรา แต่ถ้าเราไม่ยอมแพ้ เราย่อมเอาชนะโชคชะตาได้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนลุกขึ้นต่อสู้กับโชคชะตาอย่างกล้าหาญ และเข้มแข็ง ผมจะขออยู่เคียงข้างทุก ๆ คนครับ

Tuesday, January 27, 2009

วางแผนลดค่าใช้จ่าย

แน่นอนครับว่า เมื่อไม่มีรายรับ เงินที่เรามีอยู่ก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ แ่ต่จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับภาระของแต่ละคน ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้วางแผนไว้ว่า เราอาจจะตกงานอยู่ประมาณ 2 ปี และต้องบริหารเงินที่มีอยู่ให้สามารถอยู่ได้ถึง 2 ปี กันเงินส่วนหนึ่งไว้ด้วยสำหรับนำไปใช้ในกรณีฉุกเฉินน๊ะครับ

จากบทความที่ผ่านมา เราได้รับเงินมาจาก 3 ทางด้วยกัน นั่นคือ พักร้อนคงเหลือ, ประกันสังคม และภาษีส่วนที่ชำระไว้เกิน

แล้วมันมากพอที่จะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้ถึง 2 ปีหรือเปล่า ถ้าคิดแล้วว่ายังไงก็ทำไม่ได้ ก็อย่าท้อแท้ ลองมองโลกในแง่ดีว่า คุณอาจจะมีทางออกที่ดีกว่าในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี ก็ลองตั้งไว้ประมาณปีครึ่งก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่ว่าเราจะตั้งไว้เท่าไรน๊ะครับ แต่อย่าให้่มันสั้นมากจนเกินไป

การลดค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1. ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ สำหรับคนที่เคยใช้น้ำใช้ไฟอย่างไม่ฟุ่มเฟือย ก็คงจะต้องหาทางประหยัดตั้งแต่วันนี้ เพราะอย่างน้อย ถ้าทำได้เข้าเป้าที่รัฐบาลกำหนด นั่นคือ ใช้น้ำไม่เกิน 30 หน่วย และไฟไม่เกิน 90 หน่วย เท่านี้เราก็ได้ใช้น้ำไฟฟรี ๆ แล้วครับ ส่วนวิธีการประหยัดน้ำไฟ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะบริหาร ให้พิจารณาคร่าว ๆ ในเรื่องของการซักผ้า, ล้างจาน, ล้างรถ,การกดชักโครก, อาบน้ำ, แอร์, รีดผ้า, การทำกับข้าว ดูว่าจะประหยัดในส่วนไหนได้บ้าง
2. สุรา บุหรี่ น้ำอัดลม กาแฟ - ลด ละ เลิก
3. ผงซักฟอก ยาสีฟัน น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ ยาสระผม ทิชชู หรือมีอะไรอีกแล้วแต่จะคิดได้ ให้ซื้อเป็นแพ็ค ประหยัดเงินกว่า แต่ไม่ควรจะซื้อมาจนล้นบ้าน ปรับเปลี่ยนยี่ห้อที่ราคาถูกลง หรือรอจังหวะที่แต่ล่ะห้างลดราคา แล้วซื้อมาตุนเอาไว้ก็ประหยัดได้อีกทางหนึ่ง
4. เดินทางด้วยรถเมล์ดีกว่า อาจจะเหนื่อยหน่อย ร้อนนิด จะก็ไม่มีค่าใช้่จ่าย เพราะรัฐบาลยังให้นั่งฟรีอยู่
5. เสื้อผ้า หน้า ผม ต้องทำเอง งดเข้าร้านเสริมสวย งดใช้บริการซักรีด แต่ต้องขอร้องอยู่อย่างว่า ถ้าจะตัดผม ก็ไปที่ร้านเถอะครับ อย่าลำบากไปตัดเองเลย ถ้าคิดจะตัดเอง ผมว่าไม่ตัดดีกว่า

ยังคิดไม่ออกว่าควรจะประหยัดอะไรเพิ่มอีก เอาไว้คิดออกแล้วจะมาเพิ่มเติมให้ น๊ะครับ
*ลืมไปอีกอย่าง ในระหว่างนี้ ก็พยายามหางานไปเรื่อย ๆ ด้วยน๊ะครับ ในส่วนของการหางาน เดี๋ยวผมจะมีบทความเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งครับ

Monday, January 26, 2009

รายได้จากที่ทำงานเดิมก็ยังมีอยู่

ผมลืมอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ รายได้ที่เราควรจะได้จากที่ทำงานเดิม

1. เงินชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้าง
2. เงินที่ทางบริษัทต้องจ่ายในกรณีมีพักร้อนเหลืออยู่

ค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

การเลิกจ้าง
หมายความว่า การ กระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแล้ว

ค่าชดเชยจึงเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ลูกจ้างลาออกจากงานไป ทิ้งงานไปหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ถ้ายังไม่มีการเลิกจ้างดังเช่นกรณีนายจ้างได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้เลิก จ้างกรรมการลูกจ้าง แต่นายจ้างยังไม่มีคำสั่งเลิกจ้างหรือบอกเลิกจ้าง ลูกจ้างยังไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยใดๆ

กฎหมายกำหนดให้นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง (ตามมาตรา ๑๑๘ ) ไว้ ดังนี้

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่ว

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสิ่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


ข้อยกเว้น ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง มีอยู่ สอง กรณี คือ

(๑) ลูกจ้างซึ่งมีระยะเวลาในการทำงานน้อย ซึ่งหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วไมครบ ๑๒๐ วัน

(๒) ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ลูกจ้างประเภทนี้นายจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างกันไว้เป็นหนังสือตั้งแต่เมื่อ เริ่มจ้าง กำหนดวันที่เริ่มจ้างว่าเป็นวันที่เท่าใดเดือนใดปีใดและกำหนดวันที่สิ้นสุด การจ้างไว้เป็นวันที่เท่าใดเดือนใดปีใด ซึ่งสัญญาจ้างที่จะมีผลทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรานี้จะต้อง เป็นสัญญาจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานประเภทหนึ่งประเภทใดใน ๓ ประเภทดังต่อไปนี้ คือ

(๒.๑) ทำงานตามโครงการ ซึ่งงานตามโครงการนั้นต้องไม่ใช่งานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของที่แน่นอน

(๒.๒) ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน

(๒.๓) ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาล ซึ่งได้จ้างในช่วงระยะเวลาตามฤดูกาลนั้น

งานทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จในระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี

ลูกจ้าง ที่ได้รับการว่าจ้างตามสัญญาประเภทดังกล่าวแม้จะทำงานเกิน ๑๒๐ วัน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้

ตัวอย่างกรณีเลิกจ้าง และนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๐๐/๒๕๔๒ ลูกจ้าง มีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๖ วรรคสอง เมื่อลูกจ้างยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อนายจ้างเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๐ เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกมีผลตามกฎหมายนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ยื่น หนังสือลาออก แม้ต่อมาลูกจ้างได้ยื่นหนังสือต่อนายจ้างขอยกเลิกหนังสือลาออกดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือลาออกนั้นไม่ เมื่อนายจ้างอนุมัติหนังสือลาออกจากงานของลูกจ้าง การลาออกจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างประสงค์ การที่ลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

ภาษีส่วนที่ชำระเกิน

หลังจากเสร็จสิ้นจากภาระกิจแรก คือ เรื่องประกันสังคม ผมก็ไม่ลืมเรื่องภาษีอากรในส่วนที่ชำระไว้เกิน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส่วนใหญ่แล้ว จะต้องมีค่าลดหย่อนต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีก็สามารถดูได้ ที่นี่ สำหรับคนที่ถนัดที่จะกรอกข้อมูลการเสียภาษีบนเว็บก็มา ที่นี่ ได้เลยครับ

ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน?


1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิม เรียกว่า สำนักงานสรรพากรเขต / อำเภอ) สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นท้องที่ที่มีภูมิลำเนา

2. สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร อาจยื่นแบบทางไปรษณีย์ โดย ส่งไปยังกองคลังกรมสรรพากรได้ โดยถือเอาวันลงทะเบียนเป็นวันรับแบบและชำระภาษี (ไม่รวมกรณีขอผ่อนชำระ) ดูรายละเอียดวิธีการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ ที่นี่

3. บน Web Site ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th<โดย ชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ หรือชำระผ่าน e-payment หรือโดยวิธีอื่นได้แก่ ชำระผ่านเครื่อง ATM โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ ทางอินเทอร์เน็ต หรือชำระผ่านทางไปรษณีย์

4. ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด แต่ต้องเป็นกรณียื่นแบบ ฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลา มีภาษีที่ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบ ฯ และจะต้องเป็นแบบ ฯ ที่แสดงชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามที่กรมสรรพากรจัดทำและส่งให้

หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?


ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้

งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม

งวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1

งวดที่ 3 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2

ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็น รายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ


ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?

1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา

จะ ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้ เงินเพิ่มเสียร้อยละ 0.75

2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก

และ ปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามข้อ 1 แล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติ รัฐมนตรี


ตอนนี้ก็ทราบว่า เรายังมีแหล่งเงินที่ควรจะได้อยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือ ประกันสังคม และภาษีอากรส่วนที่ชำระไว้เกิน ก็พอจะประทังให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ซักระยะหนึ่ง แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน เดี๋ยวผมจะมีวิธีการหารายได้ และลดค่าใช้จ่ายมาให้ดูกัน โปรดติดตามชม...

Sunday, January 25, 2009

ติดต่อประกันสังคม เพื่อรับเงินทดแทน


สิ่งแรกที่เราควรจะนึกถึงก็คือ ประกันสังคม(สำหรับผู้ที่ทำประกันตนไว้) โดยมีเงื่อนไขในการรับประโยชน์ทดแทนว่าผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกก็ตาม ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนให้กับเราในกรณีว่างงานดังต่อไปนี้

1. ในกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 180 วัน(ได้ทำการขยายระยะเวลาเป็น 240 วันในช่วงนี้) โดยคิดที่ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท หรือได้เงินมากที่สุดก็คือ 7,500 บาทนั่นเอง

2. ในกรณีลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 30 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยคิดที่ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท หรือได้เงินมากที่สุดก็คือ 4,500 บาทนั่นเอง

3. ในกรณีถูกไล่ออก โดยส่วนใหญ่แล้ว จะหมายถึง ทำผิดระเบียบวินัยของบริษัทอย่างร้ายแรง จะไม่ได้รับเงินทดแทนใด ๆ จากประกันสังคมทั้งสิ้น

*ในกรณีที่ 3 นี้ ผมอยากจะให้คนที่มีปัญหานี้ จากความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ลองหาทางติดต่อกับบริษัท เพื่อขอเป็นการลาออกแทน(ไม่ได้ชี้แนะให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องน๊ะครับ) แต่ก็เป็นวิธีการที่น่าจะทำได้ เพราะบริษัทคงจะไม่ใจร้ายกับเราจนเกินไป อย่าหยิ่งทะนง จองหอง หรือมองว่าเป็นการเสียหน้าเป็นอันขาด เพราะนั่นก็คือ เงินที่เราอาจจะได้รับนั่นเอง

และนอกจากนี้ผู้ประกันตน จะยังคงได้รับการคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนจากประกันสังคม 4 กรณี คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน และคลอดบุตร ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิดังกล่าวนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้

1.ผู้ประกันตนต้องรีบขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน

2.กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
- บัตรประชาชน
- รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ

3.กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
- หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส.6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชี

4.เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

5.เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างานได้พิจารณา

6.หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธ การฝีกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที

7.เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

8.เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัย ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

9.เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้งผ่าน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)

10.หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง


นอกจากนี้ ในระยะเวลาที่ผู้ประกันตนว่างเว้นจากการทำงานในช่วง 6 เดือนนี้ หากผู้ประกันตนที่มีความประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อ สามารถยื่นสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 คือภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน สงเคราะห์บุตร คลอดบุตร และชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่องถ้าผู้ประกันตน ขาดส่งเงินสบทบติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้ประกันตน

หลังจากหอบหิ้วกระเป๋าออกจากที่ทำงานแล้ว ก็ให้ติดต่อไปที่ประกันสังคมทันที หรือที่กรมแรงงาน ลองแวะไปที่นี่ดูน๊ะครับ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506

หรือดูที่เว็บไซด์ของประกันสังคมดูเพื่อศึกษาข้อมูล ให้รีบ ๆ ทำอย่างรอช้า เพราะเงื่อนไข 180 วัน กับ 90 วัน จะนับไปเรื่อย ๆ หลังจากที่เราออกจากงาน ดูเว็บไซด์ได้ ที่นี่

9 คาถาคุมสติ (แตก) เมื่อตกงาน!

เรื่อง ชวนสติแตกที่สุดของชาวไทย (และชาวโลก) ในเวลานี้ ก็คือการตกงาน คนไทยหลายคน (ที่สูงวัยหน่อย) มีภูมิต้านทานจากเมื่อครั้งต้มยำกุ้ง แต่เอาเข้าจริงเรื่องตกงานก็ไม่เข้าใครออกใคร

ตกงาน, งาน, หางาน, เครียด, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, กัมปนาท

ตอน นี้มองไปทางไหนก็มีแต่คนตกระกำลำบาก ยุคข้าวยากหมากแพง ปัญหาบ้านเมืองไม่สงบ ปัญหาเศรษฐกิจซับซ้อน ยิ่งยุคนี้ค่านิยมคนในสังคมส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องเงินเป็นหลัก ยุคสังคมทุนนิยมแบบนี้ ใครอยู่แบบไม่มีเงินก็ลำบาก ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า การตกงานตามมา หลายคนตอนนี้นอนเอามือก่ายหน้าผากแล้ว คิดมากจนจะกลายเป็นโรควิตกกังวล หรือกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็มี

เงินกำหนดความสุข (ไม่) ได้

นพ. กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลมนารมย์ให้ความเห็นว่า ความกังวลของคนที่ตกงานนั้น หากให้อธิบายก็คือคนที่ยอมให้ “เงิน” มาเป็นตัวกำหนดความสุขความทุกข์ อารมณ์ความรู้สึกที่บั่นทอนอธิบายได้ดังนี้

1.ความรู้สึกกังวล กังวลว่าจะไม่สามารถหาเงินมาใช้ในการดำเนินชีวิต ใครที่เป็นหนี้อยู่ก็วิตกว่าจะต้องถูกยึดทรัพย์สินบางอย่าง (ที่อาจจะเป็นสิ่งที่รักและหวงแหน) หรืออาจจะไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องอันเป็นที่รัก ดังจะเห็นว่ามีการขายลูกเพื่อใช้หนี้ ก็นำมาซึ่งความทุกข์ระทมใจกันทุกฝ่าย รวมถึงความกังวลว่าจะไม่สามารถใช้หนี้ได้ ยิ่งทุกวันนี้มีเจ้าหนี้โหดๆ ประเภทขูดเลือดขูดเนื้อ แถมขู่ทำร้ายด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความทุกข์ทวีคูณ

2. ความรู้สึกอับอาย อับอายที่จะต้องเสียหน้าที่การงาน ตกงาน มองว่าตัวเราไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ เป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก น่าสมเพช ทั้งๆ ที่ภาวะเศรษฐกิจรอบนี้เป็นเหมือนกันทั้งโลก การปลดคนงานออกเป็นความจำเป็นของนายจ้าง และเป็นไปตามกระแสเศรษฐกิจ

พวกไม่กลุ้มเพราะตกงาน

นพ. กัมปนาท กล่าวว่า คนมักถามจิตแพทย์ว่า การตกงานจะมีเรื่องสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ คำตอบคือเกี่ยวข้องแน่นอน เพราะเรื่องเงินเรื่องหนี้ เรื่องเหล่านี้หนีความกังวลในความสัมพันธ์และความรู้สึกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ก็พบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่รู้สึกเฉยๆ และไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรจากการตกงาน ลองศึกษาดูว่าคนพวกนี้เป็นใครและมีวิธีคิดอย่างไร รวมทั้งผลลัพธ์

1.คนที่ตกงานหรือเปลี่ยนงานเป็นประจำจนเคยชิน เจอสถานการณ์แบบนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่เห็นว่าจะต้องเครียดให้เหนื่อยใจไปเปล่าๆ

2. มีความกังวลอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เมื่อไม่มีงานก็ไม่มีเงิน ถ้าทุนเดิมมีน้อยก็อาจจะเครียดมากกว่า แต่ก็ยังสามารถที่จะแยกแยะอารมณ์กับเรื่องภาระหน้าที่ของตนเอง คือ ต้องหางานใหม่ให้ได้ หรือคิดขยับขยายทำอย่างอื่น และก็บอกตัวเองเสมอว่าจะต้องค่อยๆ ทำงานหาเงินไป ป่วยการที่จะไปทุกข์ใจ เพราะทุกข์ไป เงินก็ไม่งอกเงยขึ้นมาให้ฟรีๆ อาจจะยิ่งทำให้หมดแรงในการหาเงิน ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

3.อีกประเภท คือเป็นพวกทองไม่รู้ร้อน คือ ไม่คิดว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร เกาะคนอื่นกิน เช่น พ่อแม่ หรือคู่สมรส พวกนี้ในที่สุดมักนำปัญหามาให้คนที่อยู่ด้วย

9 คาถารับมือการตกงาน

คน ทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นมีปะปนอยู่ในสังคม แต่ถ้าคุณไม่เข้ากลุ่มใดเลย ต่อไปนี้คือคำแนะนำที่พึงกระทำ นพ.กัมปนาท กล่าวว่า อาจมีหลายคนไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่อันดับแรกขอให้มุ่งประเด็นที่ใจของตนเอง ขอให้อยู่อย่างใจสงบและอิสระจากการผูกมัดจากเรื่องภายนอก คิดเสียว่าทุกอย่างที่เป็นเงื่อนไขที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพียงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราก็แล้วกัน ดังนั้น เราจะรับมือกับการตกงานให้ดีที่สุด

1.) เริ่มต้นจากการมองโลกในแง่ดีให้มากเข้าไว้ คิดเสียว่าการที่เราตกงาน ก็เพื่อให้ตนเองได้พักผ่อน เพราะบางคนทำงานหนักจนแทบไม่ได้พักเลย ได้เงินมาแต่ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองเลยจะมีประโยชน์อะไร ที่มีเงินแต่อยู่ในสุขภาพที่ย่ำแย่ในที่สุดก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้เงินอยู่ดี

2.) อย่าเป็นคนรักษาหน้ามากนัก บางคนมองว่าการตกงาน เป็นการบอกว่าเราด้อย ไม่มีความสามารถ ทนไม่ได้กับการที่ต้องตกงาน ก็เลยไม่กล้าลงทุนทำอะไรอย่างอื่นอีก หรือคิดรวยทางลัด หาเงินจากแหล่งการพนัน เสี่ยงโชค ยอมขายตัวขายศักดิ์ศรีแลกเงิน อย่างนี้ทำให้สถานการณ์เลวร้าย

3.) มองว่าการตกงานก็เพื่อฝึกทบทวนความสามารถตนเองใหม่ ว่าควรจะได้มีการพัฒนามากขึ้นจนได้อยู่ในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงน้อย รวมทั้งได้ฝึกการบริหารจัดการเรื่องเงินเรื่องทองให้ได้ ถ้าทำได้หรือฝ่าฟันไปได้ก็จะเป็นคนที่มีประสบการณ์และแกร่งขึ้น

4.) เผื่อใจไว้สำหรับการไม่มีเงิน หากจำเป็นต้องใช้เงิน ก็อาจจะต้องยอมสละอะไรบางอย่าง (ที่เคยยึดติด) เช่น อาจจะต้องยอมขายหรือเสียอะไรบางอย่างบ้าง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินให้ได้ อย่าเป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบยึดติดกับวัตถุมากเกินไป เพราะเงินทองเป็นของนอกกายไม่ตายก็หาใหม่ได้ อย่าไปปักใจอยู่กับคุณค่าของวัตถุมากเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว คุณค่าที่เกิดขึ้นเกิดจากใจของเราเองต่างหากที่ไปสร้างเงื่อนไขทางความคิด จัดลำดับความสำคัญในชีวิตดีๆ ว่าจะทำอย่างไรให้พอดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้จะต้องสูญเสียวัตถุสิ่งของที่รักไปบ้าง

5.) ส่วนใครที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ขายชดใช้หนี้ ก็อย่าลืมทรัพย์สินทางปัญญา ต้องพยายามหาทางนำออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าไม่มีทรัพย์ใดจะมีค่ามากไปกว่าปัญญาของเราเอง ยิ่งไปกว่านั้นการได้คิดได้ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า มากกว่าทรัพย์สินใดๆ เพราะประสบการณ์ที่ได้ จะทำให้ทั้งแข็งทั้งแกร่ง ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยเงินทองหรือของมีค่า

6.) พยายามคิดหาทางเลือกอื่นๆ ไว้ เมื่อตกงาน อย่าเพิ่งคิดสั้นๆ และมองว่าตนเองไม่มีทางเลือก อย่าลืมว่าปัญหามักจะมีทางออกสำหรับผู้ที่ฝึกคิดเสมอ

7.) พึงคิดไว้เสมอว่าหากวันนั้นมาถึง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” สำคัญที่สุด อย่าไปหวังว่าใครจะมาช่วยเราถ้าเรายังไม่เริ่มต้นที่จะคิดช่วยเหลือตนเอง

8.) ฝึกให้ตนเองมุ่งมั่นในการหางานใหม่ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องคิดเรื่องการตกงานให้อยู่ในสมองมากนัก คิดเพียงการมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง เมื่อนั้นคุณจะรู้สึกว่าภูมิใจที่เราเป็นคนที่มีความรับผิดชอบที่ดี อย่าลืมชมตัวเองบ่อยๆ ก็แล้วกัน

9.) สำหรับคนที่ค่อนข้างเครียดเรื่องตกงาน ให้ลองสำรวจตนเองว่าเป็นคนวิตกกังวลเกินไปหรือไม่ ความวิตกกังวลนั้นส่งผลต่อชีวิตอย่าง ทำให้ขยันขึ้น หรือทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงในการต่อสู้กับปัญหากันแน่ ถ้าเป็นประเด็นหลังอาจต้องมารับการบำบัดทางด้านสุขภาพจิต เพราะหากปล่อยไว้ ชีวิตจะค่อยๆ หมดพลังในที่สุด

คำแนะนำส่งท้าย นพ.กัมปนาท กล่าวว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ในช่วงนี้ก็อย่าเพิ่งเปลี่ยนงานหรือโลภมากขออัพเกรดตัวเองเร็วนัก สำคัญคืออย่าเลือกงาน แต่ขอให้รับผิดชอบในหน้าที่ ณ เวลาที่เป็นอยู่ตอนนี้ให้ดีที่สุด รวมทั้งอย่าหาความสุขที่มากเกินพอดี ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เล่นการพนัน หรือหาทางออกด้วยยาเสพติด

“ขอ เป็นกำลังใจให้กับทุกคน อย่าลืมว่าความพยายามและความอดทนอยู่ที่ไหน ปัญหาทางใจก็จะไม่อยู่ที่นั่นอีกต่อไป จัดการกับปัญหา (ทางใจ) ของคุณให้ได้ เพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดีแม้ภาวะเศรษฐกิจจะแย่ก็ตาม” นพ.กัมปนาท กล่าว

รายงานโดย :วันพรรษา อภิรัฐนานนท์: วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552
ที่มา : sanook.com

 

© 2013 คนตกงาน. All rights resevered. Designed by Templateism

Back To Top