Thursday, April 30, 2009

ยื่นคำร้องของเป็นผู้ประกันตน(เปลี่ยนจากมาตรา 38 เป็น 39) หลากหลายคำถามที่ควรรู้

เมื่อวานนี้ผมได้ไปยื่นคำร้องเพื่อขอเป็นผู้ประกันตนต่อโดยเปลี่ยนจากมาตรา 38 เป็น 39 ด้วยเห็นว่าชีวิตนี้คงไม่มีหลักประกันอะไรแล้วหลังจากออกจากงาน เพราะว่าเป็นห่วงในกรณีที่เจ็บป่วยและตัวเราเองก็ยังไม่ได้มีงานทำ ซึ่งในช่วงนี้ก็ได้ข่าวอีกว่าทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดจำนวนเงินสมทบเข้าประกันสังคมให้อีก 2 เปอร์เซ็นต์ผมก็คงต้องติดตามเรื่องนี้ต่อไป แต่ที่แน่ ๆ คือในขณะนี้ก็ต้องจากเงินสมทบด้วยตนเองเป็นจำนวนเงินสี่ร้อยกว่าบาทซึ่งก็ไม่ได้ถือว่ามากมายอะไร ถ้าประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องอื่น ๆ ก็คงจะไม่ทำให้เราเดือดร้อนไปมากกว่านี้ซักเท่าไหร่

ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้มีหลักประกันในชีวิต ผมก็ตัดสินใจในทันทีที่จะไปต่อประกันสังคม ซึ่งก็ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อย หลักฐานที่ต้องนำไปด้วยก็มีแค่สำเนาบัตรประชาชนเท่านั้นเอง โดยแนบกับคำร้องที่ต้องขอจากพนักงานแล้วกรอกรายละเอียดส่วนตัวเบื้องต้นเท่านั้น มีอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ จะมีช่องที่ต้องกรอกในส่วนของโรงพยาบาลที่เราจะต้องเลือก อันนี้ถ้าคิดไว้ก่อนก็น่าจะดี เอาเป็นว่าเลือกที่ที่เราสะดวกและน่าเชื่อถือเป็นการส่วนตัวนั่นแหละครับเป็นดีที่สุด

ประกันสังคมผมจะสิ้นสุดวันที่ 6 พค. 52 นี้ เมื่อยื่นเรื่องเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับเอกสารพร้อมกับบัตรประกันสังคมอันใหม่ สำหรับเงินงวดแรกก็จะจ่ายในเดือนหน้า(ตอนแรกนึกว่าจะต้องจ่ายทันทีเสียอีก) สอบถามได้ความว่า หลักการของประกันสังคมคือให้จ่ายทีหลังจากจบเดือนไปแล้ว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป สุดท้าย ผมก็นำหลากหลายคำถามมาฝากเผื่อมีข้อสงสัยประการใด

ผู้ประกันตนที่ลาออกจากมาตรา 33 แล้วจะสมัครในมาตรา 39 ได้หรือไม่
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงานและให้สิทธิคุ้มครองผู้ประกันตน 6 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ยกเว้นกรณีว่างงาน

จะสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกันตนที่จะสมัครมาตรา 39
1.เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2.ต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
3.ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 จะสมัครได้ที่ใด และใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ผู้ ประกันตนสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่ผู้ประกันตนสะดวก โดยต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20) พร้อมแนบบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา ทั้งนี้ในการสมัครผู้ประกันตนจะต้องเคยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและต้องสมัครภายใน 6 เดือนหลังจากที่ออกจากงาน

เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้วจะจ่ายเงินสมทบได้ที่ใดบ้าง
1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด พร้อมแบบส่งเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-11)
2. จ่ายเงินทางธนาณัติ พร้อมแบบส่งเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-11)
3. หักจากบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
4. จ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากนำส่งเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

สาเหตุที่ทำให้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอะไรบ้าง
1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง)
2. ลาออก
3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
4. ตาย
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

**กรณีลาออกหรือกลับเข้าทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ยื่นแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-21)


ผู้ประกันตนลาออกจากงานเมื่ออายุ 60 ปีแต่ได้เข้าทำงานใหม่ตอนอายุ 61 ปี จะสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้หรือไม่
ได้ จะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมกำหนด

ลูกจ้างอายุครบ 60 ปี นายจ้างให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจะมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้หรือไม่
ได้ หากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน

กรณีออกจากงานเกิน 6 เดือน แต่อยากเข้าประกันต่อจะทำได้หรือไม่
กรณีออกจากงานเกิน 6 เดือนแล้ว ไม่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อไป

Sunday, April 26, 2009

ทำบุญโลงศพ วัดหัวลำโพง

วันนี้ถือว่าเป็นวันดีสำหรับผมทีเดียว เพราะตั้งใจเอาไว้ว่าจะต้องทำบุญโลงศพตามที่อาจารย์ท่านหนึ่งแนะนำเป็นจำนวนเงิน 132 บาท สถานที่ที่ผมนึกจขึ้นมาได้เห็นจะมีอยู่แค่ที่เดียวคือที่วัดหัวลำโพงนี่เอง

ผมวางแผนที่จะออกเดินทางช่วงเช้าจะได้ไม่ร้อนมาก และอาจจะเป็นโชคดีของผมเสียนี่กระไร อากาศร้อนอบอ้าวอยู่หลายวัน พอมาวันนี้มีเค้าครึ้มฟ้าครึ้มฝนซ่ะอย่างงั้น และก็แน่นอนอีกนั่นแหละครับ ผมจะเดินทางโดยทางรถเมล์ฟรีเหมือนเดิม ก่อนออกเดินทางผมได้ศึกษาดูแผนที่เรียบร้อยแล้วครับว่าวัดหัวลำโพงอยู่ ณ ตำแหน่งใดของกรุงเทพฯ เพื่อจะได้เดินทางรวดเดียวไปถึงที่หมายให้เร็วที่สุด

จากจุดเริ่มต้น ผมกะว่าจะนั่งรถเมล์สาย 18 แล้วไปต่อรถที่อนุเสาวรีย์ชัยฯ แต่รถไม่เห็นมาซักที มีแต่รถเสียตังค์ทั้งนั้น ก็เห็นอยู่สายหนึ่งแล่นผ่านมาพอดีคือสาย 203 ก็ถือโอกาสเปลี่ยนเส้นทางซ่ะเลยเรียกได้ว่าผมนั่งตั้งแต่ต้นสายจนถึงสุดสายกันทีเี่ดียวครับ

หลังจากที่รถเมล์สาย 203 แล่นมาถึงสนามหลวงผมก็ลงที่ป้ายหน้ากระทรวงยุติธรรม กำลังใช้ความคิดอยู่ว่าจะไปสายไหนต่อดี แต่ถ้าจะต่อรถจากจุดเดิมคงไม่ค่อยดีเท่าไหน ว่าแล้วผมก็เดินตรงไปผ่านหลักเมืองกรุงเทพฯ เอ๊ะไหน ๆ ก็ผ่านมาแล้วและเคยผ่านมาตั้งหลายครั้ง อยู่กรุงเทพฯมาก็นาน ไม่เคยเข้าไปดูหลักเมืองกรุงเทพฯซักที ว่าแล้วก็ขอเข้าไปไหว้ศาลหลักเมืองก่อนเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

ผมค่อนข้างประหลาดใจอยู่เหมือนกันว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังเห็นมีคนเข้าไปไหว้ศาลหลักเมืองอยู่ตลาดทั้งวัน แต่ผมขอไหว้โดยไม่มีดอกไม้ธูปเทียน คือ ใช้ใจที่บริสุทธิไหว้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับคนที่ไม่ค่อยจะมีเงินซักเท่าไรในช่วงเวลานี้สำหรับผม

หลักจากที่ไหว้ศาลหลักเมืองเรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินตรงต่อไปผ่านหน้ากระทรวงกลาโหมเพื่อไปยังป้ายรถเมล์ป้ายถัดไป คิดอยู่ในใจว่า น่าจะมีหลายสายที่พอจะพาเราไปถึงจุดหมายได้ ว่าแล้วก็เห็นสาย 1 ผ่านมา(ฟรีเหมือนเดิม) ก็กะว่าจะไปลงที่คลองถมแล้วก็ต่ออีกต่อหนึ่งน่าจะดีกว่า

พอไปถึงคลองถมก็ปาเข้าไปเกือบเที่ยง และด้วยความเคยชินกับอะไรบางอย่างที่อยู่ในใจทำให้ต้องกลืนน้ำลายอีกแล้ว นั่นก็คือ ปอเปี๊ยะขาหมู เวลาที่ไปถึงก็ถูกต้องเหมาะเจาะ เป็นอาหารกลางวันพอดี ว่าแล้วก็รีบจ้ำอ้าวไปที่ร้านทันที(ความจริงไม่ใช่เป็นร้านหรอกครับ อยู่บนถนนธรรมดามานานหลายสิบปีแล้วครับ) หลังจากเสร็จสิ้นอาหารกลางวันก็ลังเลใจ อยากจะเดินเล่นคลองถมอีกแ้ล้ว แต่ต้องทำหน้าที่ที่สำคัญก่อน ว่าแล้วก็มองหารถเมล์คันต่อไป

ผมใช้เวลาค่อนข้างนานในการรอรถเมล์ที่คลองถม เพราะส่วนใหญ่รถที่วิ่งผ่านมาเป็นรถเสียตังค์ก็เลยไม่ขึ้น ประมาณ 10 นาที ก็เห็นรถเมล์สาย 4(ฟรี) มาพอดี ผ่านเป้าหมายแน่นอน รถแล่นมาจนถึงสามย่านผมก็ลงที่ป้านหน้าจามจุรีคอมเพร็คซ์(จำไม่ค่อยได้ว่าใช่ชื่อนี้หรือเปล่า) เดินย้อนกลับมานิดหน่อยอยู่ฝั่งตรงกันข้าม นั่นแหละครับคือ วัดหัวลำโพง ที่หมายที่ผมต้องการจะไปให้ถึง

ผมว่าผมค่อนข้างจะมีเซ๊นส์อยู่พอสมควรว่าสถานที่ที่ทำบุญโลงศพอยู่ตรงไหน ตอนแรกก็ว่าจะถามรปภ. แต่ลองเดินไปดูก่อน เพราะถ้าไปไม่ถูกก็จะได้เดินชมสถานที่ไปด้วย จากประตูทางด้านถนนพระราม 4 เดินไปทางด้านขวามือชิดกับกำแพงก็จะเห็นมูลนิธิร่วมกตัญญู ที่นี่เองครับที่คนเค้าไปทำบุญโลงศพกัน ซึ่งก็ติดอยู่กับถนนอีกฝั่งหนึ่ง(ไม่รู้ว่าชื่อถนนอะไร เป็นสี่แยกที่จะไปมาบุญครองได้)

ภายในมูลนิธิ เดินเข้าไปก็คงไม่ต้องไปถามใครให้เสียเวลาว่าทำบุญโลงศพที่ไหน เพราะมีเจ้าหน้าที่หลาย ๆ ท่านนั่งประจำการเพื่อรอรับบริจาคอยู่แล้ว อันนี้ก็แล้วแต่กำลังศรัทธา มากน้อยไม่เป็นไร ขอให้ใจเป็นกุศลเป็นพอ ผมก็รีบนำเงิน 132 บาทที่ผมเตรียมไว้ออกมา แล้วก็บอกเจ้าหน้าที่ว่า บริจาค/ทำบุญ 132 บาทครับ แค่นี้เท่านั้นเอง เจ้าหน้าที่ก็จะนำใบอุทิศส่วนกุศลเขียนชื่อเราพร้อมรายเซ็นต์เท่านี้เป็นอันเรียบร้อย แต่ยังไม่จบครับ

ผมก็ถามเจ้าหน้าที่อีกว่า ใบนี้เอาไว้ทำอะไรครับ(เป็นใบสีส้มชมพูที่เราเขียนชื่อ) เจ้าหน้าที่ตอบว่า ให้นำไปแป็ะไว้ที่โลง ทางมูลนิธิจะมีกาวแป้งเปียกเตรียมไว้เรียบร้อย เราก็แค่ติดกาวแล้วก็ไปติดที่โลงตำแหน่งไหนก็ได้ด้วยใจบริสุทธิ และนี่ก็คือทั้งหมดในการทำบุญโลงศพของผมวันนี้ หลังจากนั้นผมก็เดินทางกลับ

Friday, April 24, 2009

มาตรา 38 รับเช็คช่วยชาติได้แล้วครับ!!!

ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งเหมือนกันที่เฝ้าติดตามเรื่องเช็คช่วยชาติ โดยเฉพาะมาตรา 38 ว่าจะสามารถไปรับได้ในวันไหน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทางการได้พิมพ์เช็คสำหรับผู้ประักันตนตามมาตรา 38 ไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.(ตามที่ปรากฎอยู่บนเช็คที่ผมไปรับมา) แต่ผมไปรับเอาวันที่ 23 เม.ย. เนื่องจากต้องการความแน่ใจเสียก่อนที่จะไปรับเพราะค่อนข้างสับสนอยู่พอสมควร ตัวผมเองได้ไปยื่นเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์และก็ตั้งหน้าตั้งตารอ รอ รอ แล้วก็รอ สำหรับขั้นตอนที่ผมไปรับเช็คช่วยชาติซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์ราชการนนทบุรีมีดังนี้

อันดับแรก ให้ไปตรวจเช็คลำดับที่ที่จะรับเช็คเสียก่อนซึ่งจะอยู่ที่ชั้น 2 เดินขึ้นบันได อยู่ทางด้านขวามือ โดยมีหางเอกสารแล้วก็บัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
อันดับที่สอง เดินขึ้นไปที่ชั้น 3 ห้องจะอยู่ทางขวามือเช่นกัน ซึ่งตอนนี้เราจะมีเอกสารเพิ่มมาอีก 1 ส่วนรวมเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ หางเอกสาร(ได้รับเมื่อครั้นที่ไปยื่นเรื่องขอรับเช็ค) บัตรประจำตัวประชาชน และสุดท้ายก็คือ เอกสารหมายเลขลำดับรับเช็คช่วยชาติ(เป็นโน๊ตเล็ก ๆ ที่ทางพนักงานเขียนขึ้นมาเดี๋ยวนั้นนั่นเอง) เมื่อยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วก็รอรับเช็คที่จุดนั้นได้เลยครับ

สำหรับคนที่ยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเช็คช่วยชาติ ก็ให้รีบ ๆ ไปยื่นกันเสียเถอะครับเดี๋ยวจะหมดเวลาเสียก่อน ตอนนี้ยังทันอยู่ที่จะได้รับเงิน 2,000 บาท จะได้นำส่วนนี้ไปช่วยชาติกันต่อไป(ช่วยตัวเองมากกว่า อิ อิ)

Wednesday, April 1, 2009

เว็ปไซด์ เช็คช่วยชาติ.com

ได้ไปเจอเว็ปไซด์นี้มาแบบบังเอิญเลยนำมาฝาก เพื่อจะได้ช่วยให้เราไม่ต้องลำบากหาข้อมูลในเรื่องนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเว็ปนี้เป็นของทางการหรือเปล่า แต่ดูเหมือนจะใช่ ก็ลองเข้าไปดูได้น๊ะครับตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ

http://www.chequechuaychart.com/images/btn_mnu1.jpg

หน้าเว็ปไซด์จะมีอยู่ทั้งหมด 5 เมนูเท่านั้นดังนี้










หวังว่าจะเป็นประโยชน์น๊ะครับ

สร้างจิตใจให้เข้มแข็งด้วยการพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปพบกับอาจารย์ท่านหนึ่ง(ไม่ขอออกนามน๊ะครับ) ผมเดิืนทางไปกับญาติอีกสองท่านด้วยกัน อันที่จริงแล้วญาติเป็นคนชักชวนให้ไป ซึ่งอาจารย์ท่านนี้จะเป็นอาจารย์ที่สามารถทำนายและช่วยเสริมสร้างบารมีให้กับเราให้พ้นจากเคราะห์ที่เรากำลังเผชิญ อาจารย์ให้ผมทำดังนี้ครับ

ทำบุญโลงศพ 132
ใส่เหรียญ 8 ทิศ หรือโป๊ยก่วย
ไหว้พระราหูหน้าบ้านวันเสาร์หลัง 6 โมงเย็นโดยมีของไหว้ดังนี้
กาแฟดำ 1 แก้ว
เฉาก๊วย 1 ถ้วย
องุ่นดำ 1 ถ้วย
ธูปดำ 8 ดอก
เทียนดำ 2 เล่ม

ตอนนี้ก็กำลังเตรียมการที่จะไหว้ราหูตามที่อาจารย์แนะนำมา

 

© 2013 คนตกงาน. All rights resevered. Designed by Templateism

Back To Top